3dsurveyservice

งาน As-built เทคโนโลยี FARO Focus 3D LASER SCAN เพื่อ BIM

งานสแกนอาคารสามมิติ As-built ด้วยเทคโนโลยี FARO Focus 3D LASER SCAN เพื่อ BIM

3D LASER SCANNER for BIM (Building Information Modeling)

เทคโนโลยีทางด้าน 3D SCAN หรือการสร้างโมเดลจำลองสามมิติ ด้วยการใช้แสงเลเซอร์ยิงไปกระทบวัตถุและสะท้อนกลับมายังเครื่องรับแล้วสร้าง “จุด” หรือ “Point” ที่มี Coordinate x,y,z ในแต่ละจุด สร้างเป็น 1 object

การใช้งานเทคโนโลยีทางด้าน 3D SCAN

เริ่มมาจากอุตสาหกรรมอวกาศที่ต้องการ สร้างส่วนประกอบอะไหล่ของสถานีอวกาศนอกโลก โดยไม่สามารถนำชิ้นส่วนอะไหล่ทั้งหมด ขึ้นไปกับยานอวกาศได้ จึงมีการทำ 3D Scan จากพื้นโลกในส่วนของชิ้นส่วนที่ต้องการ Upload file ข้อมูลไปยังสถานีอวกาศนอกโลก และทำการ 3D Printing เพื่อให้ได้ Part สำรองมาใช้งานในยามฉุกเฉิน

faro-focus-m70

ต่อเนื่องมาจนถึง ปี ค.ศ. 2004 บริษัทฟาโร เทคโนโลยี ประเทศไทยได้มีการเปิดตัวสินค้า FARO Arm 3D SCAN เพื่อนำมา Promote เพื่อการใช้งานการทำ 3D SCAN ในอุตสาหกรรมรถยนต์

เป็นการทำ 3D SCAN เพื่อการออกแบบ mold (Reverse Engineering) , QC Inspection ตรวจวัดอะไหล่ ชิ้นงาน รวมถึงแม่พิมพ์ จนกลายเป็น เทคโนโลยี 3D SCAN ที่มีการต่อยอดในอุตสาหกรรมอื่นๆอีกมากมาย

หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากวิวัฒนาการ 3D LASER SCAN คืออุตสาหกรรมเขียนแบบและการก่อสร้าง ซึ่งได้มีการนำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการออกแบบเขียนแบบที่เรียกว่า แบบจำลองสารสนเทศอาคาร หรือ BIM (Building Information Modeling)

รวมไปถึงการประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคาร หรือการก่อสร้างโครงการขนาดต่างๆ เริ่มตั้งแต่ บ้าน วัด อาคารโบราณสถาน โรงงาน โรงแรม โรงเรียน อาคารสถาที่ราชการ เขื่อน อุโมงค์ ทางลอด สะพานขนาดต่างๆ ถนน รวมถึงองค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่นิยมสร้างกันในปัจจุบัน

การนำวิธีและเครื่องมือ 3D LASER SCANNER มาใช้งานเริ่มต้นจากกระบวนการ การทำสำรวจสถานที่หน้างาน เพื่อการเก็บลักษณะทางกายภาพ ขนาด ความสูง วัถตุต่างๆ สิ่งก่อสร้างเดิมต่างๆ รวมถึงโครงสร้างอาคารเดิมที่ก่อสร้างมานานแล้ว เราอาจเรียกกระบวนการนี้ว่า 3D LASER Survey หรือ 3D As-built Survey

ขั้นตอนต่างๆในการสแกน

ขั้นตอนต่อไปคือกระบวนการประมวณผลของการสำรวจแบบสามมิติ เครื่อง 3D LASER SCANNER FARO Focus จะมีโปรแกรมประมวลผล FARO SCENE เพื่อการนำข้อมูล “จุด” หรือ “Point” ที่มี Coordinate x,y,z ในแต่ละตำแหน่งกล้องที่สแกนเก็บข้อมูลมา มาประมวลผล

จากหลากหลายตำแหน่งกล้องที่ทำการสแกนอาคาร โปรแกรมจะนำข้อมูลดิบ “Raw scan data” มารวมกันเป็นข้อมูล “Pointcloud” ที่มีความต่อเนื่อง สมบูรณ์ในโครงการเดียวกัน กล่าวคือนำแต่ละวิวที่สแกน

มารวมกันเป็น 1 ก้อนไฟล์ข้อมูล ที่สมบูรณ์ สิ่งที่ได้จากกระบวนการนี้ เรียกว่า 3D Pointcloud model หรือ โมเดลกลุ่มจุดของอาคารที่เราเก็บสำรวจข้อมูลมา

ข้อมูล Pointcloud เป็นข้อมูลโมเดลสามมิติ As-built model เป็นข้อมูลที่มาปฎิวัติงานออกแบบ งานเขียนแบบ งานตกแต่งภายใน งาน Renovation งาน Construction งานออกแบบ Landscape งานออกแบบผังโครงการ และยังประยุกต์ใช้งานข้อมูล Pointcloud ได้อีกมากมาย

ในส่วนขั้นตอนสุดท้ายของขบวนการ 3D LASER SCANNER for BIM คือการนำข้อมูล Pointcloud มาใช้อ้างอิงในการเขียน Model BIM การทำงานในขั้นตอนนี้ต้องใช้โปรแกรมเขียนแบบซึ่งต้องตรวจสอบดูว่า โปรแกรมเขียนแบบที่เราใช้งาน รองรับการ Import ข้อมูล Pointcloud หรือไม่

Pointcloud FormatNotes
CPE: Format created by FAROCPE is a new file format for point data developed by FARO that combines minimal file size with flexible quality settings.
DXF: Format created by AutoDeskMost common CAD format, nearly all CAD software should be able to read this format. SCENE exports scan points and 3D objects, with the limitations that 3D objects are not exported as solids, and textures of meshes are not supported.
E57: Standard format defined by ASTMThis format is only for scan points, not for objects. SCENE can import and export scan points in E57 format.
IGES: CAD format most used in the IndustryThis format can handle solid objects, where as DXF can not. Some CAD software, such as DELMIA products and others can read this format,
but in fact do not support all IGES objects. All SCENE objects and point clouds can be stored in this format, except the texture of meshes.
This format should not be used for point clouds because the file size becomes large
POD: PointoolsPointools is a third-party application that provides an environment for viewing, analyzing, editing and producing visual content from a range of 3D data types.
PTC: Point cloud formatThis format is used by PointCloud and FARO Cloud from kubit. This format option was removed in SCENE 5.2 and later, as PointCloud can read native FARO FLS scan files.
PTS: Point cloud formatThis format is used with various software packages, for example Leica Cyclone.
PTX: Point cloud formatThis format is used with various software packages, for example Leica Cyclone.
RCS : AutoDesk ReCapWhen exporting scans to the RCS file format, the xyz-coordinate and RGB or intensity values will be stored in the exported file for each scan point. Multiple scans can be exported as multiple RCS files, or as one, merged scan.
VRML: 3D file format invented for the InternetMost 3D CAD and design software can handle this format, but some of them ignore point data. Use this format if you want to import CAD data into SCENE.
XYZ Ascii: point cloud formatThis general file format is a simple text file with one point per line. Any software that can handle points can read this format.
XYZ Binary: same as XYZ AsciiBinary format  that is not a readable text file and has a small file size.

โปรแกรมที่นักออกแบบใช้กันและเป็นที่รู้จักกันดี เช่น AutoDesk Revit, AutoCAD, AutoDesk Infraworks 360, AutoDesk Navisworks

การใช้งานข้อมูล Pointcloud ในโปรแกรมเขียนแบบ นิยมใช้กัน 2 วิธี

วิธีที่ 1 เราใช้การสร้าง 3D CAD Model จากการวัดและทาบแบบจาก Pointcloud โมเดล กล่าวคือการทำงานลักษณะนี้ ผู้ใช้งานหรือผู้ออกแบบ มีความต้องการสร้างแบบ 3D CAD Model ของอาคารนั้นๆ

ขึ้นมาเพื่อใช้ในการออกแบบส่วนต่อขยายเพิ่มหรือ Renovate สร้าง Shop drawing สร้างแบบสถาปัตถ์ สร้างแบบงานระบบ ซึ่งอาคารเดิมไม่สามารถหาแบบ Drawing มาได้ หรือแบบที่มีไม่เป็นแบบปัจจุบัน จึงต้องสร้างแบบขึ้นใหม่

เทคนิคนี้จึงช่วยให้การทำแบบ As-built อาคารเดิม ทำได้เร็ว ถูกต้อง ประหยัดเวลาสำรวจ ลดความผิดพลาดจากการวัดผิดหรือจดข้อมูลผิด โดยการนำข้อมูล Pointcloud Import เข้าโปรแกรมเขียนแบบแล้ว set alignment แกน x,y,z ให้ตรงกัน ใช้คำสั่ง “clip box” ช่วยเพื่อปิดมุมมองอื่น และเปิดมุมมองใน Pointcloud model ที่เราสนใจจะ draft เส้นทับ เท่านั้น

วิธีที่ 2 เราใช้ข้อมูลจากการสำรวจ 3D Pointcloud model เป็นจุดอ้างอิงของโครงการ เช่น โครงการมีตึกเดิมจำนวนหนึ่งตึกและเรามีโมเดลตึกที่สอง คือตึกใหม่ เรา Import 3D CAD Model ของตึกใหม่เข้าไปวางในบริเวณที่เราตั้องการได้เลย

โดยลดขั้นตอนการเขียนแบบ สิ่งแวดล้อมเดิม (Existing) 3D Pointcloud Model และ 3D CAD Model สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3DsurveyService.com คือกลุ่มทีมงานผู้มีประสพการณ์และชำนาญการด้านการสำรวจแบบสามมิติ ซึ่งใช้เทคนิค และอุปกรณ์เทคโนโลยีความละเอียดสูง คือ 3D LASER SCANNER เราสร้างสรรค์งาน 3D SCAN

ในเมืองไทย เราพร้อมสาธิตการใช้งาน จัดอบรม ให้งานบริการสแกนอาคาร และเป็นที่ปรึกษาโครงการให้กับลูกค้าที่สนใจมากมาย มาตั้งแต่ปี 2552 ทีมงานที่มีประสพการณ์กว่า 10 ปี

ด้าน 3D SCAN, 3D Point Cloud, 3D Modeling รวมถึง BIM เราให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานการทำสำรวจสามมิติ 3D LASER SCAN หรือ การเก็บแบบ As built การทำสำรวจข้อมูลหน้างาน

เพื่อเก็บแบบ ระยะ ขนาดสี ของสิ่งก่อสร้างนั้นๆ นำมาสร้างเป็นโมเดลสามมิติที่มีขนาดถูกต้องในระดับมิลลิเมตร user สามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดในงานออกแบบต่าง เช่น ปรับปรุงอาคาร สร้างอาคารใหม่หรือสร้างส่วนต่อขยายของงานก่อสร้างใหม่ ให้มีความสัมพันธ์กับอาคารเดิม

เราส่งมอบโมเดลสามมิติแบบ Point cloud และให้คำปรึกษาการนำข้อมูล Point cloud ไปใช้งานกับโปรแกรมเขียนแบบของลูกค้า เราส่งมอบโมเดลสามมิติแบบ AutoCAD 3D ในรูปแบบไฟล์เขียนแบบที่ลูกค้าต้องการ (*.DXF, *.REV)

ปรึกษาการใช้งาน 3D LASER SCANNER และ 3D Pointcloud model ได้ที่ 3DsurveyService.com

จากอาคารจริงสู่โมเดลสามมิติ As-built อาคาร ด้วย Pointcloud

อ้างอิง https://knowledge.faro.com/Software/FARO_SCENE/SCENE/Export_Formats_Supported_by_SCENE

Comments

ใส่ความเห็น