Renovate ห้องประชุม by 3D LASER SCANNER

การใช้งานเครื่องสแกนสามมิติ Renovate ห้องประชุม by 3D LASER SCANNER

การใช้งานเครื่องสแกนสามมิติ Renovate ห้องประชุม by 3D LASER SCANNER

เรามาดูการใช้งานเครื่องสแกนสามมิติฟาโรเลเซอร์สแกนเนอร์กับการนำไปประยุกต์ใช้งานสแกน3มิติ Renovate ห้องประชุม เก็บรูปร่าง ระยะ ความกว้าง ยาว สูง มุมองศาของฝ้าเพดานจากหน้างานจริงสู่แบบ Drawing as-built เพื่อการปรับปรุงตกแต่ง Renovation ใหม่ของห้องประชุมslopeรูปพัด

ทีมงาน 3DSurveyService.com ได้รับโอกาสจากทีมงาน Construction and Renovation มืออาชีพให้ร่วมงานในการสำรวจและเก็บแบบ As-built ห้องประชุม อาคารแห่งหนึ่งใน ด้วยเทคนิคเลเซอร์สแกน3มิติ สำรวจหน้างานและสร้างโมเดลกลุ่มจุด หรือ Point cloud Model แล้วนำข้อมูลมาเขียนแบบเป็น 3D CAD และ 2D CAD (file *.DWG) เพื่อการปรับปรุบตกแต่งห้องประชุมต่อไป

ที่มาของปัญหา ก่อนทีมงาน Renovation ตัดสินใจให้เราร่วมงาน กล่าวคือ ห้องประชุมแห่งนี้ถูกออกแบบมาอย่างสวยงามและมีความลาดชันของพื้นและฝ้าเพดาน ลดหลั่น เป็นชั้นๆ และทำมุม เป็นองศาต่างๆ กันอย่างสวยงาม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความยากของทีมงานที่จะทำการวัดหน้างานเหล่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นฝ้าที่เล่นระดับเหล่านั้น เขาไม่สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดระยะธรรมดาที่พวกเขาใช้ “ใครจะวัดแผ่นฝ้าslopeที่เล่นระดับ หลากหลายองศาได้” ถ้าทีมงานถามถึงแบบ Master plan ของห้องนี้ทั้ง floor plan และ Cross section ต่างๆ เจ้าของอาคารไม่มีและไม่สามารถหาให้ได้ (ตามปกติวิสัยที่ทีมงาน renovate พบบ่อยๆ) นี่จึงเป็นที่มาของการได้ร่วมงานกันกับทีมงานของเรา เรามาดูและรู้จักรูปแบบของห้องประชุม Auditorium รูปแบบต่างๆกันก่อน

หลักเกณฑ์ในการออกแบบห้องให้มีการรับฟังเสียงที่ดี        

ได้แก่ การขจัดปัญหาเกี่ยวกับเสียงที่ไม่ต้องการออกไปการเพิ่มหรือลดระดับเสียงในห้องและการเลือกใช้รูปแบบและทรงของห้องที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบห้องประชุมที่มีการรับฟังเสียงที่ดี สิ่งที่จะนำไปสู่การออกแบบห้องประชุมที่มีการรับฟังเสียงที่ดี คือ

  1. ขนาดของห้องประชุม (Capacities)
  2. รูปแบบของห้องประชุม (Auditorium Shapes)
  3. รูปแบบเวทีห้องประชุม (Stage Types)

1. ขนาดของห้องประชุม (Capacities)

         ขนาดความจุของผู้เข้าชมในห้องประชุม โดยทั่วไปจะเรียกความจุเป็นจำนวนคนหรือจำนวนที่นั่ง เช่น ห้องประชุมขนาด 2000 ที่นั่งหรือ ห้องประชุมขนาดจุคนได้ 450 คน ขนาดของห้องประชุมแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ขึ้นอยู่กับจำนวนคนเป็นหลัก ส่วนประโยชน์ใช้สอยอาจแตกต่างกันบ้าง ดังต่อไปนี้
          1.1  ห้องประชุมขนาดเล็ก    ขนาด 35 – 750 คน
          1.2  ห้องประชุมขนาดกลาง ขนาด 750 -2000 คน
          1.3  ห้องประชุมขนาดใหญ่  ขนาด 2000 คนขึ้นไป

2. รูปแบบห้องประชุม (Auditorium Shape)

รูปแบบห้องประชุมมีหลายลักษณะตามแต่สถาปนิกจะออกแบบในรูปแบบใด เช่น
          2.1  แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangular floor shape)
          2.2  แบบรูปพัด (Fan shape)
          2.3  แบบรูปเกือกม้า (House shoe, ellipse floor shape)
          2.4  แบบรูปวงกลม (Form circular floor shape)2.5  แบบรูปอิสระ (Free form shape, or irregular form)

2.1 รูปแบบห้องประชุมแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า

การออกแบบห้องที่มีผนังคู่ขนานกันไปหากเป็นที่แคบ จะมีปรากฏการณ์ของเสียงวิ่งกลับไปมาในห้อง (Sound Flutter) ดังนั้นการแก้ไขปัญหาห้องรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบๆ จึงต้องทำให้ผนังทั้งสองด้านเอนออก (Tilt) จากกันบ้างนอกจากนี้สัดส่วนของห้องที่เหมาะสมที่สุดในการรับฟังเสียงที่ดี ต้องไม่แคบเกินไปและไม่กว้างเกินไป สัดส่วนของผนังห้อง กว้าง : ยาว เป็น 1:1.2 ความยาวของห้องที่รับฟังเสียงที่ดีได้ ต้องไม่เกิน 2 เท่าของความกว้าง

2.2 รูปแบบห้องประชุมแบบรูปพัด

ลักษณะของห้องประชุมรูปแบบนี้ เหมาะสำหรับใช้เพื่อชมการแสดง มากกว่าการรับฟังเสียงดนตรี หรือเป็นรูปแบบของ Concert Hall เพราะเสียงดนตรีที่มีความถี่สูงจะไม่กระจายเสียงไปด้านข้างทั่วห้องประชุมเนื่องจากคลื่นเสียงของความถี่สูงนี้จะมีขนาดเล็กเดินทางเป็นทิศทางตรง ไม่กระจายออกไปทางกว้างเช่น เสียงของไวโอลิน ฉิ่ง หรือ Cow Bell ส่วนคลื่นเสียงของความถี่ต่ำมีขนาดใหญ่จะกระจายออกได้มากทั่วห้องเช่น เสียงเบส

เพราะฉะนั้นผู้ที่นั่งอยู่กลางห้องประชุมเท่านั้นที่จะได้ยินและรับฟังเสียงสูง เช่น เสียงของไวโอลินได้ชัดเจนส่วนผู้ที่อยู่บริเวณสองข้าง ของห้องจะได้ยินเสียงน้อยลงไปมากส่วนการชมการแสดงผู้ชมที่นั่งด้านหลังก็จะขยับเข้าใกล้เวทีการแสดงกระจายออกไปทางด้านข้างทำให้ สามารถชมการแสดงได้ชัดเจนขึ้น

2.3 รูปแบบห้องประชุมแบบรูปเกือกม้า

เป็นรูปแบบที่ผสมผสานระหว่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากับรูปทรงกลม โดยขยายด้านสกัดของเหลี่ยมออกไปให้เป็นโค้ง ส่วนใหญ่รูปแบบนี้มักจะสอดคล้องไปตามรูปทรง (Mass) ของที่ว่าง (Space) ของห้องประชุมนั้นมากกว่า ลักษณะรูปแบบอาจจะไปทาง Rectangular Shape หรือ Fan Shape นั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งเวที

เพราะฉะนั้น การออกแบบห้องประชุมรูปทรงนี้ต้องออกแบบรูปทรงเวทีพร้อมกันไปด้วย หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นการฉายภาพยนตร์ คนดูด้านข้างก็จะไม่สามารถแลเห็นได้อย่างชัดเจน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นการฉายภาพยนตร์ คนดูด้านข้างก็จะไม่สามารถแลเห็นได้อย่างชัดเจน ปัญหาด้านเสียงก็จะต้องแก้ไขปัญหาของการรวมตัวของเสียง (Sound Foci) อันเนื่องมาจากผนังที่โค้งเว้าเข้า (Concave)

2.4 รูปแบบห้องประชุมแบบรูปวงกลม

รูปทรงวงกลมของห้องประชุมประเภทนี้ เหมาะสำหรับการชกมวย หรือการแข่งขันกีฬา เช่นบาสเกตบอล วอลเล่ย์บอล มากกว่าการแสดงละครหรือดนตรี สิ่งที่ควรระวังในการออกแบบห้องประชุมประเภทนี้ คือ การเกิดเสียงสะท้อนรวมกัน (Sound Foci) ขึ้นได้

3.1 End Stage (เวทีปลายห้อง)

เป็นรูปแบบของเวทีในห้องประชุมทั่วๆไป คืออยู่ทางปลายด้านหนึ่งของรูปทรงห้องประชุม เป็นรูปทรงที่เหมาะที่สุดและสามารถควบคุมการดูและการรับฟังของผู้ชมได้ง่าย ควบคุมดเสียงได้ดีเหมาะสำหรับการชมดนตรี การแสดง และการปาฐกถา

3.2 Open Stage (เวทีเปิด)

เป็นเวทีที่เน้นการชมการแสดงมากกว่าการฟัง เช่น ใช้เดินแฟชั่นโชว์ ฯลฯ การควบคุมเสียงกระทำได้ยาก แต่การแสดงนั้นผู้ชมและผู้แสดงมีโอกาสได้สัมผัสใกล้ชิดมากขึ้น

3.3 Arena Stageหรือ Central Stage หรือ Island Stage

เหมาะสำหรับการแสดงต่างๆ ที่มองดูรอบตัวการแสดง รวมทั้งรายการชกมวยแต่ไม่เหมาะสำหรับการให้เสียงที่ดี พื้นที่ทุกด้านของเวทีนี้เปิดสู่ผู้ชมทั้งหมดทุกด้าน การกระจายเสียงจะคำนึงถึงการกระจายเสียงที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดเสียงโดยตรงเป็นหลักมากกว่าการสะท้อน เพราะมีพื้นที่ของการสะท้อนเสียงน้อย

3.4 Adaptable Stage เวทีปรับได้

เป็นเวทีที่สามารถปรับได้และดัดแปลงรูปทรงได้ตามความจำเป็นของงาน และจุดประสงค์ของประโยชน์ใช้สอยที่ต่างกัน การควบคุมเพื่อให้ได้รับฟังเสียงได้ดีกระทำได้ยากมาก เวทีประเภทนี้โดยมากเป็นเวทีเอนกประสงค์ เช่น เวทีห้องประชุมประจำโรงเรียน ซึ่งใช้สำหรับเล่นกีฬา ประชุม แสดงละคร และการแสดงดนตรี ฯลฯ

อ้างอิง:mapleintegration.com

การทำงานของทีมสำรวจสามมิติ 3DSurveyService.com

  1. ติดต่อวันและเวลาที่ได้รับอนุญาตให้เข้าปฎิบัติงาน
  2. เจ้าหน้าที่สำรวจ 1 คนนำกล้องสำรวจ 3D LASER SCANNER FARO Focus พร้อมอุปกรณ์ ขาตั้งกล้อง และลูกบอล target Sphere ball เข้าเริ่มทำงาน
  3. เวลาเริ่มงาน 09:30 นาฬิกา
  4. เจ้าหน้าที่สำรวจใช้กล้องสแกนเก็บข้อมูลตามจุดต่างๆของห้อง เป้าหมายคือเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของห้อง ยกเว้นด้านหลังเวที สิ่งที่เน้นคือรูปทรงของแผ่นผ้าที่เล่นระดับ

5. จบการทำงานสำรวจหน้างาน 14:00 นาฬิการ รวมเวลา 4:30 ชั่วโมง

6. นำข้อมูลจากการสแกนสามมิติที่ได้ไปทำการ pre-processing (registration point cloud data)

7. กล่าวคือนำข้อมูลสำรวจแต่ละจุดที่ตั้งกล้องไปทำการรวมกันกับจุดอื่นๆทั้งหมดที่ตั้งกล้อง ข้อมูลแต่ละตำแหน่งที่ตั้งกล้องจะเป็นข้อมูลสำรวจ 3D Point cloud survey raw data ที่ต้องนำมาซ้อนทับจุดร่วมกัน (overlap point and reference point) เราใช้ Target Sphere ball เป็นจุดอ้างอิงร่วม หลังจากรวมข้อมูลแล้วเราได้ข้อมูล 3D Point cloud Model ที่สมบูรณ์ เรา Export file ให้เป็น *.RCP (AutoDesk RECAP) จบขั้นตอนนี้ ข้อมูลสำรวจพร้อมใช้งานเขียนแบบเรียบร้อย

3D Point cloud Model
3D Point cloud Model

8. เราทำงานต่อด้วยโปรแกรม AutoDesk Revit เพื่อทำการเขียนแบบทับข้อมูล Point cloud model นั้น จบขั้นตอนที่8นี้เราจะได้แบบ As-built ทั้ง 3D CAD model และแบบ 2D CAD floor plan และ Section

3D CAD Model (Revit)
3D CAD Model (Revit)
3D CAD (dwg)
3D CAD (dwg)
2D CAD Floor plan (dwg)
2D CAD Section (dwg)
2D CAD Floor plan (dwg)

สรุปการทำงานสำรวจด้วยกล้องสแกนสามมิติ 3D LASER SCANNER นี้มีความแตกต่างกับการสำรวจด้วยเครื่องมือวัดหน้างานแบบธรรมดาอยู่หลายมิติ คือ สำรวจด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย ได้ค่าแม่นยำในระดับมิลิเมตร ผลที่ได้เป็นโมเดลสามมิติพร้อมใช้งาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่นการ Simulation การวัดขนาดและการวิเคราะห์ทางกายภาพต่างๆ เป็นการสำรวจแบบใหม่ที่ประหยัดคน ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายในการสำรวจ พร้อมได้ข้อมูลโมเดลเสมือนจริง -3D Point Cloud Model ในอัตราส่วน 1:1 ที่ถูกต้องแม่นยำ

Why 3DSureveyService.com ?

  1. ทีมงานมืออาชีพให้บริการและคำปรึกษาด้วยความรู้และประสพการณ์ที่ทำงานด้านสแกนสามมิติมามากกว่า 12 ปี งานสำรวจสามมิติสแกนอาคาร โรงงานหรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ
  2. เครื่องมือสำรวจได้มาตราฐาน คุณภาพดี FARO Focus 3D X330 S150+ S350 M70 LEICA BLK360
  3. ทำงานสำรวจรวดเร็ว ส่งมอบตรงเวลา รับผิดชอบในงานที่รับทำ เราคือมืออาชีพด้านงานสำรวจสามมิติสแกนอาคาร

Comments

ใส่ความเห็น