CASE – STUDY สแกนสามมิติท่อ Piping from Oil & Gas plant
3DSurveyService.com ขอนำเสนอ Point Cloud data จากงาน สแกนสามมิติท่อ และกลุ่มท่อของอุตสาหกรรม Oil & Gas เพื่อเก็บระยะ พื้นที่และมิติต่างๆ ของกลุ่มท่อปัจจุบันเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไป Import เข้าโปรแกรม AutoDesk Plant 3D และ AutoDesk NavisWork เพื่อการขยาย Pipe rack
และวางตำแหน่ง Tank, Pump และ equipment ใหม่ การใช้เทคนิคการสำรวจแบบนี้เป็นที่ยอมรับและทำกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศและกลุ่มประเทศใกล้ๆบ้านเรา รวมถึงประเทศไทยด้วย ที่ซึ่งมีอุตสาหกรรม Oil & Gas ตั้งอยู่
จากประสพการณ์ของทีมงาน 3DSurveyService.com ที่ได้ร่วมงานและแลกเปลี่ยนความคิด การแก้ไขปัญหากับลูกค้า พบว่าอุตสาหกรรม Oil & Gas และอุตสาหกรรมเคมีและเม็ดพลาสติก ซึ่งดำเนินงานมานานกว่า สิบ สิบปี
พบปัญหาว่า Line ผลิตของพวกเขาเหล่านั้นซึ่งมี equipment หลักๆคือท่อหลากหลายขนาด ถังขนาดต่างๆ ปั๊ม วาล์ว มิเตอร์ และ โครง Pipe Rack, Supporting ต่างๆ อุปกรณ์เหล่านี้มีอยู่ตั้งแต่วันแรกของการเปิด Line ผลิตงานของพวกเขา
ซึ่งเมื่อย้อนวันเวลากลับไปเมื่อ 10-20-30 ที่ผ่านมา แบบ Production line เหล่านี้ถูก Designer และ/หรือ Supplier ส่งมอบให้ไว้เป็นแบบ สองมิติ หรือ 2D CAD
บางที่มีแต่แบบที่เก็บไว้ในเล่มพิมพ์เขียวเท่านั้น บางที่มีแบบในเล่มพิมพ์เขียวและ AutoCAD 2D ปัญหาใหญ่ ปัญหาที่พูดถึงบ่อยที่สุดคือ
- เวลาผ่านไป มีส่วนขยายของ Production Line เพื่อเพิ่มกำลังผลิต แบบที่เพิ่มขึ้นมาทำโดย Supplier เจ้าใหม่ ไม่สามารถ link หรือทำงานร่วมกับหรือดูภาพรวมร่วมกับ แบบส่วนผลิตเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้าได้ คือเขาทำส่วนใหม่เขาส่งมอบเฉพาะแบบในส่วนพื้นที่ใหม่เท่านั้น ไม่มีการเขียนแบบภาพรวม
- แบบที่ลูกค้าถืออยู่ เมื่อเดินไปสำรวจหน้างาน พบว่ามีสิ่งที่ไม่ตรงกับแบบ สาเหตุเหล่านี้มีได้หลายปัจจัย เช่น แบบผิด แบบไม่ละเอียด มีการต่อเติมส่วนขยายหรือส่วน Support เล็กๆน้อยๆ ตลอดระยะเวลาที่ Run งาน
- Tag ต่างๆที่อุปกรณ์ ชำรุดเสียหายไปและต้องการติด Tag ใหม่แต่มันไม่ตรงกับแบบ หรือหาไม่เจอ
- มีแบบที่เป็น 2D CAD พอเวลาจะออกแบบส่วนต่อขยาย ส่วนเพื่อเติมของอุปกรณ์และท่อเหล่านั้น เกิดความไม่มั่นใจว่า จะวางอุปกรณ์ใหม่ได้พอดีไหม เช่นจะต้องสอดท่อแนวใหม่ใต้กลุ่มท่อที่มีอยู่เดิม จะชนท่อเก่าไหม จะยึด support ได้ที่ใดบ้าง
ปัญหาเหล่านี้ถูกพูดคุยและลงความเห็นในหลายๆที่ว่า ต้องทำการสำรวจและ update แบบใหม่ทั้งหมด มีวิธีที่ User จัดการแก้ปัญหาแบบลักษณะนี้อยู่คือ
ทำการสำรวจ Production Line และอุปกรณ์ พร้อมเช็คและติด Tag ใหม่ ขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้เดินสำรวจทีละส่วน ถือ P&ID ของเดิม เดินเช็คอุปกรณ์ต่าง (Major Equipments, Heat Exchanger, Pump, Compressor, Reactor, Separator, Distillation Column)
พร้อมมีอุปกรณ์ถ่ายรูป เพื่อเก็บรูป equipment นั้นๆไว้อ้างอิง Edit & Update P&ID เมื่อเจอสิ่งที่แตกต่างไป ผลคือเราได้ P&ID ที่ Update แต่ยังคงไม่ได้แบบ As-built ที่มีมิติ
ทำการสำรวจด้วยกล้อง 3D LASER SCANNER โดยทำการสแกน Line ผลิตในส่วนต่างๆ พร้อมมีการใช้ทีมเช็ค P&ID ไปด้วย พร้อม Update ถ้าพบว่าไม่ตรงแบบเดิม การทำสแกนสามมิติเป็นขั้นตอนที่เพิ่มเติมวิธีแรก แทนที่จะใช้อุปกรณ์ถ่ายรูปธรรมดา เพื่อเก็บรูป equipment นั้นๆไว้อ้างอิง เราปรับเปลี่ยนมาใช้กล้อง 3D LASER SCAN
แทน ผลของการสำรวจวิธีที่สองนี้ สุดท้ายลูกค้าได้ P&ID ที่ Update และยังได้โมเดลสามมิติ Point Cloud ไว้อ้างอิงด้วย Point Cloud Modelนี้สามารถ Import เข้าโปรแกรมเขียนแบบสามมิติ ได้โดยตรง สามารถ Draft ทับให้เป็นแบบ 3D CAD (*.dwg) ได้ถ้าต้องการ
ประโยชน์ที่ได้รับคือทำการสำรวจชนิดนี้แล้วจะได้การ Update ทั้ง Process flow Diagram และ Physical Production Line Model ด้วย กล่าวคือได้แบบโมเดล Production Line ที่เป็นแบบสามมิติ และสามารถหมุนดูได้หลายมุมมองในคอมพิวเตอร์ สะดวกต่อการใช้งาน
เรายินดีแนะนำการใช้งาน และให้บริการ 3D Piping Survey Service & 3D Modeling Service
Tel : 093.198.0155 LINE ID @aqa7344k
ภาพจาก Diseno SCAN TO BIM
CASE – STUDY งานสแกนอาคาร ห้างดัง นิวเวิลด์ บางลำพู ตำนานวังมัจฉา
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น