บทความสถาปัตยกรรม

บทความสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีกับการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม

บทความสถาปัตยกรรม เทคโนโลยีกับการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม

วันนี้ทีมงาน 3DSurveyservice.com จะมาแนะนำ บทความสถาปัตยกรรม ที่เป็นบทความดีๆ จากเว็บไซต์ asacrew.asa.or.th เกี่ยวกับเรื่องราวของ เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างไรบ้างในการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม ที่ได้คุณมติ เสมา Manager & Senior Architect ตัวแทนจากบานาน่า สตูดิโอ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม การอนุรักษ์ และการจัดทำแหล่งความรู้ผ่านทางหนังสือ และงานค้นคว้าเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม

และ ผศ.ดร.​ชาวี​บุษยรัตน์ อาจารย์​ประจำคณะ​สถาปัตยกรรม​ศาสตร์​และการผังเมือง​ มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์​ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลโบราณสถานแบบดิจิทัล (digital preservation) เกี่ยวกับมุมมองการอนุรักษ์ในโลกสมัยใหม่ที่ต้องแข่งกับเวลาที่กำลังหมุนไปทุกวินาที

ASA CREW: เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างไรบ้างในการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม?

จากกระแสการรีโนเวตอาคารเก่าสู่พื้นที่การใช้งานแบบใหม่อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สู่การตั้งคำถามว่าอะไรควรเก็บรักษาไว้ให้เป็นความจริงแท้ดั้งเดิม อะไรควรถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ASA CREW จึงชวนคุณมติ เสมา Manager & Senior Architect ตัวแทนจากบานาน่า สตูดิโอ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม การอนุรักษ์ และการจัดทำแหล่งความรู้ผ่านทางหนังสือ และงานค้นคว้าเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม

และ ผศ.ดร.​ชาวี​บุษยรัตน์ อาจารย์​ประจำคณะ​สถาปัตยกรรม​ศาสตร์​และการผังเมือง​ มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์​ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลโบราณสถานแบบดิจิทัล (digital preservation) เกี่ยวกับมุมมองการอนุรักษ์ในโลกสมัยใหม่ที่ต้องแข่งกับเวลาที่กำลังหมุนไปทุกวินาที

ผศ.ดร.​ชาวี​  บุษยรัตน์ และคุณมติ เสมา ตัวแทนจากบานาน่า สตูดิโอ

มติ: ที่สำคัญมากๆ คือเทคโนโลยีพวกนี้ ช่วยย่นระยะเวลาในการเก็บข้อมูลได้มากเลย จากที่ต้องพานักเรียนไปวัดพื้นที่ เก็บข้อมูล 2 สัปดาห์ เขียนแบบอีก 1 เดือน แต่ปัจจุบันเอา 3D Scanner ไปสแกนตัวอาคาร ได้ Point Cloud มา อัปโหลดเข้าโปรแกรมเขียนแบบต่อใน AutoCAD ได้เลย

อ.ชาวี: หรือเป็นหลักวันก็สแกนเสร็จแล้วนะครับ ทำ Post-Production อีกสัปดาห์หนึ่ง แล้วมันยิ่งเร็วขึ้น พัฒนาขึ้นตลอดด้วย แต่ก่อนผมต้องนำแต่ละรูปมาวางแล้วจิ้มว่ารูปแรกจุดนี้

รูปที่สองจุดนี้ คือจุดเดียวกัน นั่งทำทีละรูป แต่ตอนนี้มี Photogrammetry เราโยนภาพเข้าไป โปรแกรมก็จัดการให้หมดเลย ผมขอยกตัวอย่าง “บ้านห้างร.5” ที่จังหวัดกำแพงเพชร เป็น เรือนไม้ทั้งหลัง ซึ่งรัชกาลที่ 5 เคยเสด็จมาที่นี่

บ้านห้างร.5

เจ้าของเป็นคุณป้าคนหนึ่งที่ได้รับมรดกตกทอดมา แต่เขาไม่ได้อยากเก็บบ้านเอาไว้ ยกให้กรมศิลปากรก็ไม่ได้ ไม่มีงบประมาณ ไม่มีนโยบาย จะซ่อมเองก็ไม่มีเงิน ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรต่อ ก็เลยต้องปล่อยให้ทรุดโทรมไปเรื่อยๆ เราเห็นว่าถ้าหากบ้านที่โย้เอียงขนาดนี้ แล้วไปนั่งวัดกัน ก็ไม่รู้เมื่อไหร่จะเสร็จ แต่พอเราเอา 3D Scanner ไปสแกนก็จบได้ในวันเดียว

มติ: นอกจากนี้ยังช่วยสันนิษฐานโบราณสถานเก่าแก่ที่เหลือเพียงแค่ฐานได้ สแกนขนาด ใส่ข้อมูลเข้าไป ขึ้นเป็นสามมิติ แล้วให้นักวิชาการหรือนักประวัติศาสตร์มาต่อยอดได้อย่างรวดเร็ว

ชาวี: นอกจากนี้ 3D Scan ยังใช้ในการตรวจสอบการพังทลายได้ด้วย ปีนี้สแกนครั้งหนึ่ง ปีหน้าสแกนซ้ำ เพื่อตรวจสอบว่ามีการพังทลายไปมากแค่ไหน วิกฤติแล้วหรือยัง ต้องเสริมความแข็งแรงไหม หรือเมื่อมีการค้นพบโบราณสถานแห่งใหม่ แต่ยังไม่มีงบประมาณมาจัดการ ก็เปิดหน้าดินขึ้นมา สแกนข้อมูลเก็บไว้ แล้วกลบกลับไปเหมือนเดิม เพื่อป้องกันความเสียหาย ระหว่างรอเวลาปรับปรุง

ASA CREW: สถานการณ์การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง?

มติ: มรดกทางสถาปัตยกรรม ทั้งหลายในบ้านเรา แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือแบบที่ใช้งานอยู่ กับแบบที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว แบบที่ใช้งานอยู่จะมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงและพัฒนามากขึ้น โดยถ้าอาคารเก่านั้นเป็นของเอกชน คนทั่วไป มักจะมีความทรุดโทรม เพราะไม่มีข้อมูลที่จะใช้การอนุรักษ์

ชาวี : ผมจบเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มา ไม่ได้ทำงานอนุรักษ์โดยตรง แต่มีหน้าที่ treat ข้อมูลจากคนที่ศึกษาโบราณสถาน อาคารอนุรักษ์เหล่านี้ไว้ หลักๆ จัดการข้อมูลโบราณสถาน ด้วยคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้เทคโนโลยี 3D Scanner ภาพถ่ายจากโดรน ทำให้ภาพถ่าย 2 มิติ กลายเป็นภาพถ่าย 3 มิติ เชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นข้อความ รูปภาพ ภาพเขียน ภาพวาดเก่าด้วย เป้าหมายในการทำงานของผมมี 2 อย่าง

อย่างแรกคือการเก็บเป็นไฟล์ดิจิทัล (digitization) อย่างที่ 2 คือนำการมาเผยแพร่ให้ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลเหล่านี้ในรูปแบบที่เขานำไปใช้ต่อได้ ซึ่งสิ่งที่ผมทำยังเป็นแนวทางที่ค่อนข้างใหม่ คนที่ทำอยู่ก็มีน้อยมาก เทคโนโลยีใหม่ๆ ในต่างประเทศมีรออยู่แล้ว แต่การที่จะนำเข้ามาคนยังไม่รู้จักว่าเกิดประโยชน์ยังไง คนมีเงินพร้อมจะซื้อ แต่ยังไม่มีความรู้ ส่วนคนที่มีความรู้ยังไม่มีเงิน (หัวเราะ) คงต้องรอเวลาที่เหมาะสมต่อไปอีกสักพัก แต่ถ้าถามว่าสถานการณ์ของโบราณสถานในบ้านเรามันเลวร้ายมากไหม ก็ไม่ได้แย่มากครับ กรมศิลปากรมีระบบการดูแลจัดการอยู่

ASA CREW: ความท้าทายด้านอื่นๆ ในการฟื้นฟูมรดกทางสถาปัตยกรรมมีอะไรอีกบ้าง?

ชาวี: เรื่องภัยธรรมชาติเป็นประเด็นหลักเลย ไฟไหม้ แผ่นดินไหว นอกเหนือจากพวกนี้ก็มีกรณีอื่นๆ อย่างสงคราม ความรู้เท่าไม่ถึงการของมนุษย์ ความคะนองของคน เราอาจจะคิดว่าเราอยู่ในยุคใหม่ ผู้คนตระหนักถึงคุณค่าของสถาปัตยกรรมพวกนี้แล้ว แต่ของพวกนี้มันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกวัน 

มติ: เรื่องไฟไหม้นี่สำคัญนะ สายไฟในตึกแถวเก่าอันตรายมาก ผมมองว่าความเสื่อมของอาคารเกิดขึ้นทุกวัน จากลม ฝน ความชื้น สมัยก่อนที่ยังไม่มี 3D Scanner เปิดหน้าดินออกมาแล้วฝนตก อิฐต่างๆ ก็เสื่อมไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งบ้านเราอยู่ในเขตร้อนชื้นแป๊บเดียวก็ตะไคร่ขึ้น ในยุโรปหรือเขตทะเลทรายอยู่ได้เป็น 100 ปี 1,000 ปี

และนี่ก็เป็นอีก 1 บทความสถาปัตยกรรม ที่แอดมินยกมาแนะนำให้อ่านในบางส่วน หากทุกคนอยากอ่านบทความดีๆฉบับเต็มอีก อ่านบทความสถาปัตยกรรม ได้ที่ Roundtable Talk: Between the Preservation and Digitization

แล้วบทความหน้า แอดมินมีอะไรจะมาแนะนำให้อ่านกันอีก อย่าลืมติดตามกันใน บทความเลเซอร์สแกน สามมิติ กันได้นะคะ

Comments

ใส่ความเห็น