3dsurveyservice

การ Renovate อาคารเก่าและซับซ้อนกว่า 30 ปี ใช้วิธีการสำรวจแบบไหนดีนะ ?

การ Renovate อาคารเก่าและซับซ้อนกว่า 30 ปี ใช้วิธีการสำรวจแบบไหนดีนะ ?

“โรงพยาบาลเก่าสร้างและดำเนินงานมาแล้วกว่า 30ปีต้อง การ Renovate ตัวตึกซับซ้อน ตำแหน่งไม่ค่อยตรงกันจะทำการสำรวจได้ไหม”

วันที่  16 สิงหาคม 2563 มีคน Direct message มาถาม admin ด้วยปัญหาด้านบน ผมจึงตอบไปว่าไม่น่ามีปัญหา การทำ 3D SCAN เก็บแบบภายในหรือภายนอกอาคารเก่า เพื่อนำมาเขียนแบบ As-built ที่จริงแล้ว มันก็เป็นหน้าที่หลักของกล้อง 3D LASER SCANNER อยู่แล้ว

ถ้าไม่เช่นนั้น การดึงเทปวัดจากตลับเทปและจดสิ่งที่วัดได้ลงกระดาษ จะเป็นวิธีที่ใครหลายๆคนก็ทำกัน ซึ่งพูดแล้วดูเหมือนจะเป็น Normal practice ในประเทศเรามาช้านาน แต่คนที่ทำการสำรวจด้วยวิธีนี้จะทราบดีว่ามันลำบากมาก และต้องใช้ความพยายามสูง เพราะมีอุปสรรคมากมายในการวัดพื้นที่ อาทิเช่น “วัดความสูงคานไม่ได้”, “เห็นว่าเสาแต่ละต้นในแนวเดียวกันนี้ไม่ตรง แล้วเราจะวัดอย่างไร”, “มุมตรงนั้นเข้าไปวัดไม่ได้มีของวาง บดบัง การเข้าถึงยาก”, “ฝาผนังบริเวณนี้โค้ง จะวัดอย่างไรดี” และปัญหาต่างๆ อีกมากมาย

และผู้ที่เป็นสถาปนิก (ผู้ที่จะนำข้อมูลมาใช้) ก็ทราบปัญหาอยู่ว่า การสำรวจนี้ พวกเขาไม่ค่อยจะแน่ใจ ข้อมูล As-built เหล่านี้เท่าไหร่ เพราะจากประสพการณ์พวกเขาหลายๆครั้ง พอออกแบบ interior หรือตู้ built-in เสร็จแล้วนำมาติดตั้งมักจะมีปัญหาเสมอๆ เพราะขนาดไม่เที่ยงตรงวางเข้ามุมนั้นแล้ว ติด โน้น นี่ นั่น ต้องแก้งาน ทุบหรือเสียเวลาแก้ปัญหาหน้างานอยู่หลายวัน ทำให้เป็นการเพิ่มต้นทุน

3dsurveyservice

Admin เริ่มเล่าขั้นตอนการเข้าทำงาน 3D SCAN ให้วิศกรท่านนี้ฟังดังนี้

Admin: ก่อนอื่น อยากทราบขนาด Physical ทั่วไปของอาคารโรงพยาบาลนี้ครับ ?

วิศกร: ขนาดอาคารโดยรวมกว้างประมาณ 33 เมตรลึก70 เมตร เป็นอาคาร สามชั้นครึ่งครับ มีการแบ่งเป็นโซน เป็นแผนกต่างๆ ปัจจุบันยังเปิดดำเนินการอยู่ทุกวัน

Admin: เราสามารถทำ 3D SCAN ได้ครับ ทำทีละ Floor ทีละโซน และเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน Factor ของการทำ 3D SCAN จะช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับ 1) จำนวนห้องที่ถูกแบ่งซอยยิ่งมีห้องเล็ก ห้องน้อยจำนวนมาก ก็จะต้องเสียเวลาตั้งกล้องสแกนตามห้องเล็กๆ เหล่านั้นทุกๆห้อง 2) ปริมาณผู้คนที่อยู่หน้างาน ตามจริงแล้วการทำ 3D SCAN สามารถทำได้ในขณะที่สถานที่เหล่านั้น Operate อยู่ ไม่ต้อง Shutdown แต่การที่มีผู้คนมากเดินขวักไขว่ ไปมาก็จะเป็นอุปสรรคให้เราทำงานได้ช้า แต่เราก็ทำงานได้

วิศกร: ปัจจุบันโรงพยาบาลยังเปิดดำเนินการอยู่ทุกวัน แต่ปริมาณคนน้อยมาก ไม่น่ามีปัญหาครับ สิ่งที่กังวลคือ สภาพปัจจุบัน เขามี Built-in ที่ห่อหุ้มเสาปูนครับ ถ้าทำ 3D SCAN จะเห็นระยะ ตำแหน่งเสาจริงๆไหมครับ ?

3dsurveyservice

Admin: ไม่เห็นระยะจริงครับ จะเห็นเสาหรือผนังที่ถูก built-in ห่อหุ้มครับ การแก้ปัญหาคือ
เราต้องทำการรื้อ built-in ที่เสาแล้วค่อยสแกนครับ เราอาจรื้อบางเสา รื้อตำแหน่งโคนเสา เพื่อจะได้วัดได้ระดับนึง ที่ดีที่สุดคือ การรื้อถอน Built-in ก่อนทำ 3D SCAN ครับ เพราะสุดท้ายแล้วก็ต้องรื้อถอนแล้วทำตกแต่งใหม่อยู่แล้ว หลักการของกล้อง 3D LASER SCANNER คือคนที่ทำสำรวจมองเห็นอะไร กล้องก็จะเห็นสิ่งนั้น กล้องใช้หลักการ LASER เดินทางไปกระทบวัตถุและสะท้อนกลับมา มันจะไม่ทะลุสิ่งกีดขวางครับ

วิศกร: ผมเข้าใจหลักการ Work flow คร่าวๆแล้วครับ ขอประสานงานกับเจ้าของโรงพยาบาลก่อน แล้วจะรีบดำเนินการ

>> มาทำความรู้จักกับ สแกนเนอร์ 3 มิติ ว่าคืออะไร และใช้ทำอะไรบ้าง? << อ่านเพิ่มเติม

สนใจสอบถามรายละเอียด

โทร : 093 198 0155

Inbox : 3D Laser Scanner

Comments

ใส่ความเห็น