CASE – STUDY งานสแกนอาคาร ห้างดัง นิวเวิลด์ บางลำพู ตำนานวังมัจฉา

ทีมงาน 3DSurveyService.com มีความภาคภูมิใจที่จะขอนำเรื่องราวดีๆที่เป็น Case Study งานสแกนอาคาร ห้างสรรพสินค้า นิวเวิลด์ บางลำพู เราได้ร่วมทำงานสำรวจภาคสนามจริง ณ สถานที่ที่เป็นอเมซิ่งของกรุงเทพ ด้วยเทคนิค 3D LASER Scanning หรือการสำรวจอาคารด้วยกล้องฟาโรสามมิติ ด้วยทีมงานผู้ชำนาญงานด้าน As-built Survey และ modeling service

ถ้ากล่าวถึงชื่อห้าง “นิวเวิลด์ บางลำพู”หลายคนอาจจะไม่รู้จัก ห้างแห่งนี้เคยเป็นห้างที่ตั้งอยู่ใจกลางเขตเมืองเก่า และเคยเป็นห้างที่แสนหรูหราโก้เก๋ของชาวเมือง ในยุคที่ย่านบางลำพูยังเป็นย่านการค้าสำคัญของกรุงเทพฯ ด้วยความสูง 11 ชั้น และมีลิฟต์แก้วเป็นแห่งแรกๆ ในประเทศไทย แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านผังเมืองและอุบัติเหตุของการรื้อถอนอาคาร ทำให้ห้างแห่งนี้ก็ต้องปิดตัวลง
ก่อนจะเปลี่ยนภาพจำของคนจากห้างสรรพสินค้ากลายมาเป็น วังมัจฉาหรือบ่อปลาขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบลับๆ ของบรรดานักท่องเที่ยวที่เข้าไปถ่ายรูปและให้อาหารปลาอยู่นาน ก่อนที่จะมีการสั่งปิดตึกถาวรและย้ายปลาออกไป ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยของคนที่เข้าไปในอาคารนั่นเอง

ความเดิมของบางลำพู เมื่อ200 ปีก่อน
ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 หลังจากย้ายเมืองหลวงกลับมาที่ฝั่งพระนครแล้วก็มีการสร้างบ้านแปงเมือง ด้วยการขุดคลองรอบกรุง สร้างป้อมและแนวกำแพงพระนครตามแนวลำคลองขุดใหม่ บริเวณช่วงคลองตั้งแต่วัดบางลำพูไปจนถึงวัดสระเกศฯ เรียกกันว่า ‘คลองบางลำพู’ มีการย้ายมาตั้งถิ่นฐานของทั้งเจ้านายและขุนนางในบริเวณนี้ ทำให้ต่อมาเริ่มมีชาวบ้านหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาตั้งรกรากตามๆ กัน ทั้งชาวไทย ชาวมอญ ชาวมลายู และชาวจีน
พอมีคนเริ่มมาอาศัยจึงเกิดการค้าขายกันในลักษณะของตลาดน้ำในคลองบางลำพู ที่มีทั้งเรือขนผักผลไม้จากฝั่งธนฯ และนนทบุรีเข้ามาขาย มีการนำข้าวสารมาขายที่บริเวณตรอกข้าวสาร (อันเป็นชื่อของถนนข้าวสารในยุคปัจจุบัน) ต่อมาเริ่มมีการขยับขยายการค้าขายขึ้นมาเป็นตลาดบนบก
จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตัดถนนสายใหม่ นั่นคือถนนราชดำเนิน พร้อมกับตัดถนนตะนาว ยาวลงมาถึงวัดบวรนิเวศฯ รวมไปถึงถนนจักรพงษ์ ถนนสามเสน ถนนพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ ถนนข้าวสาร ถนนรามบุตรี และถนนสิบสามห้าง ส่งผลให้พื้นที่บางลำพูเป็นจุดผ่านและจุดเชื่อมของเส้นทางคมนาคมสายใหม่ และรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตลาดแบบทันสมัยในพื้นที่บางลำพู โดยให้ชื่อว่า ‘ตลาดยอดพิมาน’ เรียกกันสั้นๆ ว่า ‘ตลาดยอด’ ส่งผลให้บางลำพูกลายมาเป็นย่านการค้าที่สำคัญมากของไทย
มีทั้งห้างร้านขายสินค้าชั้นนำและมีชื่อเสียงหลายร้าน โดย ร้านชื่อดังประจำย่าน (คลิ้กอ่านลิ้งค์อ้างอิงได้เลยจ้า) เช่น ห้างเสื้อนพรัตน์ ร้านสมใจนึกบางลำพู ห้าง ต.เง็กชวน และแหล่งรวมมหรสพหลากหลาย ทั้งลิเก ละครร้อง และสื่อบันเทิงสมัยใหม่อย่างโรงภาพยนตร์ ซึ่งได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง แต่ช่วงหลังด้วยการที่เป็นเขตอนุรักษ์การขยับขยายทางด้านธุรกิจนั้นทำได้ยาก ผสมกับการย้ายถิ่นฐานของคนในเมือง จึงมีการลงทุนในย่านการค้าแห่งใหม่ ทั้งบริเวณประตูน้ำ ราชประสงค์ สีลม สาทร สุขุมวิท แทน ทำให้บางลำพูในยุคปัจจุบันนั้นลดความสำคัญในด้านการเป็นย่านการค้าสำคัญลงไป

บางลำพู พ.ศ. 2526
เมื่อ 30 กว่าปีก่อน บางลำพูก็ยังคงเป็นแหล่งการค้าที่สำคัญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน พ.ศ. 2526 มีการเปิดห้างใหม่บริเวณแยกบางลำพู นั่นคือห้างนิวเวิลด์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากคนกรุงเทพฯ เพราะมีร้านค้าและสินค้าใหม่ๆ วางขาย และมีลิฟต์แก้วแสนโก้เก๋ให้บริการอยู่ด้านหน้าห้างด้วย ด้วยเสียงตอบรับที่ดีทำให้ทางเจ้าของห้างได้ขออนุญาตต่อเติมอาคารจากทางเขตให้มีความสูงจากเดิม 4 ชั้น เพิ่มขึ้นไปเป็น 11 ชั้นแม้ทางเขตไม่อนุญาต
แต่ทางเจ้าของห้างก็ทำการต่อเติมห้างไปโดยพลการ จนทำให้เกิดการฟ้องร้องต่อศาลโดยทางกรุงเทพมหานคร ก่อนจะผ่านกระบวนการทางชั้นศาลทั้งอุทธรณ์และฎีกา จนศาลตัดสินให้ทางห้างสรรพสินค้ารื้อถอนส่วนต่อเติมชั้น 5 – 11 ออกไป ซึ่งทางห้างก็ได้ดำเนินการรื้อถอน โดยที่ยังคงเปิดให้บริการชั้น 1 – 4 ควบคู่กันไปด้วย
บางลำพู พ.ศ. 2547
ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2547 การรื้อถอนชั้น 5 – 11 ยังคงดำเนินไป แต่ทางช่างที่ทำงานนั้นได้วางเศษวัสดุที่รื้อถอนจากชั้นบนๆ ไว้ในจุดที่รับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้พื้นแตกและถล่มลงไปยังชั้นล่าง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและร้านค้าชั้นล่างได้รับความเสียหาย ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ห้างนิวเวิลด์จึงปิดตัวลง ก่อนกลายมาเป็นบทบาทใหม่หลังจากปิดห้าง นั่นคือ บ่อปลา หรือวังมัจฉากลางกรุงนั่นเอง
เหตุใดสถานที่แห่งนี้ถึงได้กลายมาเป็นบ่อเลี้ยงปลาจำนวนมหาศาล
ด้วยความที่ห้างกำลังรื้อถอนชั้นด้านบนออกและต้องปิดให้ดำเนินการ ด้านบนของห้างจึงไม่มีการปิดช่องหลังคา และด้วยการออกแบบห้างสมัยนั้นที่มีโถงกลางเปิดโล่ง ทำให้เมื่อเข้าสู่หน้าฝน น้ำฝนจะตกและขังอยู่ที่ชั้นล่างสุดของห้าง เมื่อน้ำฝนตกลงมาขังมากขึ้นก็มียุงมากขึ้นด้วย แม่ค้าและชาวบ้านแถวนั้นเลยนำปลามาปล่อยเพื่อกำจัดลูกน้ำไม่ให้กลายเป็นยุง หลายคนบอกว่าเริ่มแรกมีแค่ปลาหางนกยูง ก่อนที่จะมีปลาแปลกๆ และขนาดใหญ่ขึ้นเพิ่มมาเรื่อยๆ ทั้งปลาคาร์ฟ ปลานิล ปลาทับทิม และอีกหลากหลายสายพันธุ์ จนกลายมาเป็นวังมัจฉากลางกรุงเก่า ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของเหล่านักท่องเที่ยวในประเทศและต่างชาติ

แต่ด้วยความปลอดภัยของผู้ที่มาเยี่ยมชมอาคารนี้อยู่ตลอด ทำให้สำนักงานเขตประกาศสั่งปิดตึกร้างดังกล่าวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 มิถุยายน พ.ศ. 2557 และขนย้ายปลา รวมถึงสูบน้ำออกทั้งหมด เป็นการปิดตำนานบ่อปลากลางกรุงเก่าไป


เดือนกรกฏาคม 2562 ทางทีมงาน 3DSurveyService.com ได้รับการติดต่อจากทีมสถาปนิกและทีมวิศวกรที่ปรึกษาโครงการที่รับหน้าที่เป็นทีมเข้าไปทำการสำรวจอาคารเพื่อทำแบบ As-built และทดสอบโครงสร้างอาคาร เพื่อนำข้อมูลมาศึกษาเรื่องการทำ Renovation


ในตอนแรกที่เห็นภาพเพื่อประเมินงานสแกนอาคาร ทางทีมงานได้ตอบตกลงรับงานอย่างไม่รังเรและมั่นใจในศักยภาพของเครื่องมือและประสพการณ์ของทีมงานเรา
ทีมงานเข้าทำงานสำรวจอาคารในช่วงวันที่ 8-10 กรกฎาครม 2562 เส้นทางการเดินเข้าไปด้านในอาคารค่อนข้างลำบากเพราะเป็นการปิดและล็อคอย่างแน่นหนาเมื่อปีนและข้ามบริเวณทางขึ้นหน้าห้างได้แล้ว เดินมุดเข้าทางประตูด้านหน้าห้าง เดินเข้าไปในชั้นแรก ตรงบริเวณนี้น่าจะเป็นชั้น G สภาพอาคารถูกทิ้งร้างมานาน เราเดินข้ามสะพานไม้เล็กที่ด้านล่างยังคงมีน้ำขังอยู่และมีปลาว่ายอยู่บ้างเพื่อไปยังบันใด เพื่อเดินขึ้นไปที่ชั้นหนึ่ง
เราเดินสำรวจหน้างานคร่าวๆก่อนเพื่อออกแบบเส้นทางการสำรวจและจุดเริ่มต้นของการวางกล้องสำรวจ หลังจากนั้นพี่ๆทีมงานทดสอบโครงสร้างได้นำของไหว้เจ้าที่และตั้งโต๊ะขอขมาและขออนุญาตการเข้าทำงานเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง หลังจากนั้นทีมงานสำรวจอาคารด้วยกล้องสามมิติ 3D LASER SCANNER เริ่มทำการตั้งกล้องสแกนอาคารและถ่ายระดับจุดอ้างอิงไปยังพื้นที่ในจุดต่างๆของชั้นหนึ่ง ภายในอาคารมีแสงน้อยมาก แต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานเพราะกล้องฟาโรโฟกัสสามมิติ สามารถทำงานเก็นระยะต่างๆของอาคารได้ในที่มืด เพราะแสงเลเซอร์ที่ใช้เป็น Laser class 1 มีความเข้มแสงของตัวเอง
เมื่อทำการสแกน แสงเลเซอร์จะวิ่งไปตกกระทบกับวัตถุและสะท้อนกลับมาที่ตัวกล้อง และ processor ด้านในจะทำการคำนวณระยะและเก็บเป็นพิกัดหรือ coordinate (X1,Y1,Z1) 1พิกัดต่อหนึ่งจุด กล้องทำงานได้ตั้งแต่ 122,000 จุดต่อวินาที ถึง 976,000 จุดต่อวินาที ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของเรา
สำหรับโปรเจคนี้ทีมงานเราใช้ Measurement speed ที่ 244,000 จุดต่อวินาทีก็เหมาะสมกับการเก็บข้อมูลอาคารหลังนี้แล้ว การทำงานเก็บข้อมูล 1 จุดสแกนใช้เวลาประมาณ 6 นาที เราทำการสแกนทั้งหมดได้ 40-45 จุดสแกนต่อหนึ่งวัน โดย route การสแกนของแต่ละชั้นได้ถูกวางแผนเพื่อให้ครอบคลุม ส่วนประกอบและสิ่งก่อสร้างภายในอาคารที่สำคัญๆทั้งหมดแล้ว เช่น ผนัง เสาอาคาร คาน พื้น ตำแหน่งบันใดเลื่อน ตำแหน่งห้องเล็กๆต่างๆ รวมข้อมูลจำนวนจุดตั้งสแกนอาคารทั้งหมด 120 จุดสแกน การใช้วิธีสำรวจแบบนี้มีข้อดีมากๆ ดังนี้
- ผู้ทำการสำรวจไม่ต้องรับความเสี่ยงในการลุย หรือปีนป่ายมากมาย เพียงตั้งกล้องให้มีมุมมองที่ส่องถึงบริเวณที่เราจะทำการเก็บค่า กล้องสามารถทำการวัดและเก็บค่าหน้างานนั้นๆได้เป็นแบบสามมิติ ลดความเสี่ยงของการตกจากที่สูงหรือการปีนเพื่อทำการวัด มีความปลอดภัยของการปฎิบัติงาน
2.ใช้ระยะเวลาและทีมงานสำรวจน้อย เพียงทีมนักสำรวจอาคารแบบสามมิติ 2 คนสามารถทำงานนี้ได้ครอบคลุมพื้นที่ 3ชั้นในระยะเวลา 3 วัน ประหยัดต้นทุนและเรื่องของเวลา
3.ลดความผิดพลาดในการวัดหรือเก็บข้อมูล กล้องทำการวัดขนาดและระยะต่างๆด้วยระบบอัตโนมัติค่าความผิดพลาดของการวัดอยู่ในช่วง+/- 2มิลลิเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่ยอมรับได้ในการทำAs-built survey เมื่อเทียบกับวิธีการสำรวจอาคารแบบปกติด้วยวิธีดึงตลับเทปแล้วทำการวัดและจดบันทักค่าลงกระดาษมีข้อผิดพลาดอยู่หลายประการตามมาเช่น วัดผิด อ่านค่าผิด หรือจดค่าผิด

หลังจากทำการสำรวจอาคารเสร็จสิ้น ทีมงานกลับออกมาเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการ pre-process ด้วยโปรแกรมของกล้องสำรวจ ขั้นตอนนี้ข้อมูลที่เก็บมาเรียกว่าข้อมูล point cloud raw data เป็น file นามสกุลเครื่องสแกน *.fls และยังเป็น point cloud ในแต่ละจุดตั้งสแกนที่เก็บข้อมูล
เราได้นำชุดข้อมูลเหล่านี้มาเชื่อมต่อกันให้เป็น point cloud ไฟล์เดียวกัน ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 วันสำหรับข้อมูลดิบ 120 จุดตั้งสแกน เพราะถือว่าเป็นข้อมูลจำนวนมาก และเมื่อผ่านขั้นตอน pre-process data แล้วเราจะได้ข้อมูลการสำรวจแบบสามมิติ point cloud 3D data ของอาคารอย่างครบถ้วน
สามารถตรวจสอบระยะต่างๆของอาคารได้ สามารถหมุนดูได้ทุกด้านเพราะเป็นโมเดลสามมิติ และสามารถทำ section ด้านต่างๆได้ ขั้นตอนนี้เรานิยม export file เป็นนามสกุล *.rcp คือนามสกุลของโปรแกรม AutoDesk Recap เป็นโปรแกรม Point Cloud Viewer และ Basic Measurement สามารถนำข้อมูลมาหมุนดูมุมต่างๆ ได้ ทำ presentation อาคารที่สำรวจมาได้



ขั้นตอนการทำแบบ As-built ขั้นตอนต่อมาคือ การนำ 3D Point cloud data มาทำการ draft ด้วยโปรแกรมเขียนแบบ ทางทีมงาน 3DSurveyService ใช้โปรแกรม AutoDesk Revit ในการทำ file นามสกุล *,rcp สามารถ import เข้าโปรแกรม Revit ได้โดยตรง

ภาพซ้ายมือคือข้อมูลจากกล้องสำรวจสามมิติฟาโร เปิดในโหมด Quick View เป็นโหมดการดูภาพ 360 องศา ภาพขวามือคือภาพจากการ Draft เส้นทับ point cloud ด้วยโปรแกรม Revit เป็นโมเดล CAD 3D เรียบร้อยแล้วพร้อมนำไปใช้งานด้านการออกแบบต่อไป

ภาพแสดงข้อมูลจากกล้องสำรวจสามมิติฟาโร เปิดในโหมด Quick View เป็นโหมดการดูภาพ 360 องศา

ภาพจากการ Draft เส้นทับ point cloud ด้วยโปรแกรม Revit เป็น CAD 3D Model สามารถ save เป็นไฟล์นามสกุลของ Revit หรือ *.dwg ได้

ภาพจากการ Draft เส้นทับ point cloud ด้วยโปรแกรม Revit เป็นโมเดล CAD 3D และเราเปิดข้อมูล 3D Point Cloud

ภาพจากการ Draft เส้นทับ point cloud ด้วยโปรแกรม Revit เป็นโมเดล CAD 3D และเราเปิดข้อมูล 3D Point Cloud
สรุป CASE – STUDY งานสแกนอาคาร ห้างดัง นิวเวิลด์ บางลำพู ตำนานวังมัจฉา
การใช้กล้องสำรวจฟาโรโฟกัสสามมิติ FARO FOCUS 3D LASER SCANNER ทำสำรวจอาคาร วัดระยะ เก็บข้อมูลต่างๆของอาคารเพื่อทำแบบ As-built เป็นวิธีสำรวจหน้างานที่ประหยัด รวจเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย เหมาะสมกับงานสำรวจอาคารและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ในปัจจุบันนี้ ข้อมูลที่ได้เป็น Digital file และง่ายต่อการทำ 3D Documentation สามารถนำมาใช้งานเขียนแบบ Renovate ปรับปรุงอาคารได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
Credit : ข้อมูลจาก Webpage the cloud, ภาพข่าวจาก Postjung.com และไทยรัฐออนไลน์
>> 3D Point Cloud ในงานสำรวจ คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร <<
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น