Disruption งานสำรวจเพื่อการRenovate by 3D LASER Scanner
Disruption งานสำรวจเพื่อการRenovate by 3D LASER Scanner การสแกนด้วยกล้องเลเซอร์ 3 มิติช่วยให้ทีม 3DSurveyService.com และลูกค้าของเราเข้าใจถึงความเป็นจริง As-built ของโครงการใดๆ ของอาคาร ของสิ่งก่อสร้าง ของโรงงาน ของโบราณสถาน ที่สามารถมองเห็นได้ วัดได้ เช็คระยะได้ เช็คองศามุมเอียงต่างๆได้ ในมุมมองของโมเดล Point cloud สามมิติ ที่สามารถให้ผู้ออกแบบ ใช้งานข้อมูลโมเดลที่สำรวจมานั้น ประหนึ่งว่าเขาได้อยู่ ณ สถานที่นั้นจริงๆ อาทิเช่น
- การวัดระยะกว้าง ยาว และความสูง อาคาร ในภาพรวม เพื่อการทราบถึงปริมาณพื้นที่รวม ภาพองค์รวมของโครงการ
- การวัดระยะ dimensions ต่างๆ ของรายละเอียดในโครงการเช่นความสูงเสา ผนัง คาน โครงหลังคา ระยะห่างต่างๆ ในแต่ละ object
- การทำ elevation ที่ภาพตัดระยะต่างๆ สามารถกำหนดได้เอง เพื่อวัดความสูงในแต่ละชั้น
- การทำภาพตัด Cross section จากมุมมองTop View ลงมาเป็นการเปิดมุมมองให้เห็น Floor Plan ของแต่ละชั้น สามารถทราบ Layout ตำแหน่งเสา ตำแหน่งผนังต่างๆ ได้รวดเร็ว
- Asbuilt 3D Model ที่ได้จากการสำรวจมานี้เป็นขอมูลที่ไม่โกหก เราสามารถเอามาแก้ไข ออกแบบ และปรับปรับอาคารของเราได้จริง ตัดปัญหาเรื่องการวัดขนาดมาผิด ตัดปัญหาการคาดเดา ตัดปัญหาความผิดพลาดจากการจดบันทึกเวลาสำรวจ เพราะ Point Cloud คือผลจากการที่กล้องวัดมาและแสดงผลเป็นข้อมูล vector มี coordinates x,y,z ในทุกๆจุด
นี่คือประโยชน์ที่ได้จากการทำ 3D building scanning หรือ 3D Survey
ทีมงานของคุณจะต้องเตรียมตัวอะไรในการทำงานสแกนอาคารสามมิติ ?
- คุณจะต้องมีทีมงาน หรือ Designer ที่มีความสามารถในการใช้โปรแกรมเขียนแบบสามมิติ 3D AutoCAD เพราะข้อมูลสำรวจเป็นโมเดล3มิติ
- คอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ต้องมี spec ที่อยู่ระดับปานกลางขึ้นไป เพราะข้อมูลสำรวจที่ได้ต่อการสแกนเก็บข้อมูล 1 ตำแหน่งสแกน มีขนาดโดยประมาณ 70-100MB ความต้องการเบื้องต้น CPU intel i7, RAM 16-32GB, SSD 500GB และที่สำคัญคือการ์ดจอแยก จะใช้สเปคของการเล่นเกมส์ตระกูล G-Force หรือที่ดีกว่าคือ NVIDIA
- โปรแกรมที่จะใช้งานข้อมูลสำรวจสามมิตินี้มีอยู่หลากหลายโปรแกรม แต่ขอแนะนำที่ใช้กันบ่อยๆ ชื่อ AutoDesk Recap, AutoDesk Revit, AutoDesk AutoCAD, CloudCompare
ประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากการทำงานสำรวจ 3D Survey by 3D LASER SCAN
- ได้ความรวดเร็วในการสำรวจ (ตัวอย่าง 1 วัน อาคารพานิช 3 คูหาๆ ละ 3ชั้น ภายในและภายนอก ทั้งนี้ขึ้นกับความซับซ้อนที่แบ่งซอยเป็นห้องเล็กๆ หลายห้อง จะใช้เวลาเพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน)
- ใช้ทีมสำรวจเพียง1-2คนเท่านั้น
- รูปทรงสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่เป็น curve หรือ unformed สามารถทำสำรวจไดโดยปกติรวดเร็ว
- ค่าความผิดพลาดในการวัด การสำรวจคุมได้ในระดับ มิลลิเมตร
เมื่อถึงเวลาพิจารณาเงื่อนไขการทำโครงการ Renovate ที่มีข้อจำกัดและปัญหาในแต่ละโครงการมากมาย การสแกนด้วยเลเซอร์ 3 มิติ จึงเป็นทางเลือกที่ดี ประหยัด รวดเร็ว ข้อมูลครบถ้วน ปลอดภัย และคุม Cost ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างลูกค้าของเราที่เริ่มรู้จักและนำมาประยุกต์ใช้งานในประเทศไทย
- การสำรวจวัดขนาด สอบเทียบปริมาตราของ ถังแนวนอน หรือถังแนวตั้ง ในอุตสาหกรรม Oil&Gas Tank calibration
- การเก็บแบบAs-built ของอาคารอนุรักษ์ หรือโบราณสถาน ก่อนและหลัง การทำการรื้อถอน ก่อสร้าง ปรับปรุง Renovation เพื่อรักษาความเป็น Original Master Plan
- การสำรวจเก็บแบบภายในและภายนอกอาคารหรือโรงงานหรือคลังสินค้า เพื่อการจัดการ การวางผังกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การย้ายเครื่องจักร การเพิ่มพื้นที่การทำงานโดยการ Utilized พื้นที่ให้ดีที่สุด
- การเก็บข้อมูลอุโมงค์ใต้ดิน เพื่อการวัดแนว การวัดการขยับตัว การทรุดตัว เป็นงาน Maintenance ของอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน
- การสแกนเก็บข้อมูลเขื่อน ขนาดใหญ่เพื่อนำมาวิเคราะห์การขยับตัวของเขื่อนเมื่อเวลาเปลี่ยนไป
- การสแกนเก็บข้อมูลของแนวท่อต่างๆของอุตสาหกรรม Oil&Gas เพื่อเป็นแบบ 3D Model ใช้ในงานด้านการบำรุงรักษาหรือในส่วนออกแบบส่วนต่อขยายแนวท่อใหม่ๆ
- งานสแกนร้านค้า ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ เพื่อเก็บแบบ เก็บขนาดในการทำแบบปรับปรุง Renovate
- งานสแกนงานระบบ ในห้อง pump ห้อง Gennerator ห้อง Air compressor ห้อง MDB เพื่องานซ่อมบำรุง ของตึกอาคารสูง ของโรงงาน
การประยุกต์ใช้งานดังที่กล่าวตัวอย่างมานี้ สามารถตอบสนองทั้งเงื่อนไขด้านงบประมาณ ด้านความปลอดภัยและเวลา
3D Survey By 3D LASER SCANNER จึงเป็น Disruption ปฏิวัติงานสำรวจเพื่อการออกแบบ Renovate ในวินาทีนี้
การสำรวจการสแกนด้วยเลเซอร์ 3 มิติสามารถทำได้อย่างน่าทึ่ง และน่าเชื่อถือ
ทดลองปรึกษางาน การทำงาน การใช้ข้อมูลกับทีมงานเรา 3DSurveyService.com
โทร 093.198.0155 Line ID 0817213881 email 3DSurveyService@gmail.com
Facebook Page : 3D Laser Scanner
>> อัพเดทข่าว มหาวิหาร Notre-Dame กลับมาอีกครั้งด้วยเทคโนโลยี 3D Laser Scan << อ่านบทความเพิ่มเติม
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น