3d Survey Service

3DSurveyService.com

สร้างสรรค์งาน 3D SCAN อาคารประสบการณ์นานกว่า 17 ปี

3dsurveyservice

CASE STUDY- งานสแกน 3 มิติ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช อุทยานราชภักดิ์

ในงานก่อสร้าง อนุเสาวรีย์หรือ รูปหล่อขนาดใหญ่ต่างๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า อนุสาวรีย์ ขนาดใหญ่ตรงตามกับสัดส่วนที่ต้องการหรือไม่ ?

วันนี้แอดมินมีตัวอย่างการทำ งานสแกน 3 มิติ เปรียบเทียบข้อมูล CAD 3D (STL file) กับ ข้อมูลการสแกนสามมิติจากกล้อง FARO LASER SCANNER องค์อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช รูปทรงทำด้วยโลหะหล่อ มีความสูงโดยประมาณ 19 เมตร มาให้ชมกันค่ะ

เดือนสิงหาคมในปี 2558 เป็นช่วงเวลาที่ทีมงาน 3DSurveyService.com ได้รับการติดต่อให้ไปร่วมงานการติดตั้งและการตรวจสอบองค์อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช รูปทรงทำด้วยโลหะหล่อ มีความสูงโดยประมาณ 19 เมตร

ในช่วงเวลานั้นองค์อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชได้ถูกเคลื่อนย้ายจากโรงหล่อ โดยการแยกส่วนออกเพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง และถูกประกอบเป็นองค์สมบูรณ์ที่สถานที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราใช้กล้อง 3D LASER SCANNER สแกนองค์อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ในการประกอบและติดตั้ง

เราขอบรรยายขั้นตอนการทำ งานสแกน 3 มิติ อนุเสาวรีย์ดังนี้

  1. เดินทางเข้าหน้างาน ใช้กล้อง 3D LASER SCANNER ทำการสแกนองค์อนุสาวรีย์ ทีมงาน สองคน ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
  2. นำผลของการสแกนที่ได้ข้อมูลโมเดล Pointcloud แบบสามมิติเป็นเป็นมาตราส่วน 1:1 กับองค์อนุสาวรีย์จริง นำมา import เข้าโปรแกรมทางวิศวกรรมการวัดสามมิติ
  3. นำข้อมูลต้นแบบที่โรงงานหล่อองค์อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ที่เป็นไฟล์ STL นำมาเป็นตัว Master ในการวิเคาระห์
  4. นำข้อมูลมาซ้อนทับกัน (fit data)
  5. โปรแกรมจะแสดงแถบสีค่าความผิดพลาด (มิลลิเมตร)ของการซ้อนทับกับของข้อมูลต้นแบบและข้อมูลสแกน
  6. ทางอุดมคติ คือข้อมูลทั้งสองควรจะซ้อนทับกันสนิทจะให้ผลว่าการหล่อองค์อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราชและการติดตั้งเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ ข้อมูลการสแกนหรือองค์อนุสาวรีย์จริงเป็นไปตามแบบ ต้นแบบที่ออกแบบมาอย่างครบถ้วน
  7.  โซนสีเหลือง แดง แสดงว่าติดค่าบวกเมื่อเทียบกับ Master หมายถึงเนื้องานลอยนูนออกมาเมื่อเทียบกับแบบ
  8. โซนสีฟ้า น้ำเงิน ม่วง แสดงว่าติดค่าลบเนื้องานยุบต่ำ เข้าไปเมื่อเทียบกับแบบ ผลการวิเคราะห์ มองภาพรวม ท่าทางตรงตามแบบในช่วงด้านบน ใบหน้า ช่วงลำตัว แขน ขา และเท้า
File STL ที่ได้จากโรงงานหล่อ ข้อมูลไม่มีดาบมา

File point cloud ที่ได้จากการสแกน

นำข้อมูลมาซ้อนทับกัน (fit data)

แสดงแถบสีค่าความผิดพลาด (มิลลิเมตร) โซนสีเหลือง แดง แสดงว่าติดค่าบวกเนื้องานลอยนูนออกมาเมื่อเทียบกับแบบ โซนสีฟ้า น้ำเงิน ม่วง แสดงว่าติดค่าลบเนื้องานยุบต่ำเข้าไปเมื่อเทียบกับแบบ ผลการวิเคราะห์ มองภาพรวม ท่าทางตรงตามแบบในช่วงด้านบน ใบหน้า ช่วงลำตัว แขน ขา และเทา

Point cloud data from Scanner และ STL file

case study ให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้งาน 3D LASER SCANNER เพื่อการตรวจสอบการติดตั้ง งานที่มีขนาดใหญ่ได้ ที่สามารถดูค่าความผิดพลาดในหลักมิลลิมิเตอร์ได้ และยังมีการประยุกต์การใช้ 3D LASER SCAN ในงานอื่นๆที่ทางทีมงาน 3DSurveyService.com จะนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ต่อไป

3D Point Cloud ในงานสำรวจ คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

Comments

ใส่ความเห็น